งานเภสัชกรรม
1. งานบริการผู้ป่วยนอก - ผู้ป่วย
โรงพยาบาลบ้านตาขุน ให้บริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 74 ราย ผู้ป่วยในโดยเฉลี่ยประมาณวันละ 4 ราย โรงพยาบาลมีระบบการคัดกรองผู้ป่วยแพ้ยาโดยดำเนินงานตามระเบียบปฎิบัติในการป้องกันการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ADR) ที่ประกาศใช้ในโรงพยาบาล ซึ่งหลังจากดำเนินงานตามระบบการคัดกรองผู้ป่วยแพ้ยาดังกล่าวตั้งแต่เดือน กันยายน 2548 ถึง เมษายน 2549 พบผู้ป่วยแพ้ยาซ้ำเพียง 1 ราย เท่านั้น ( ในเดือนตุลาคม 2548) และฝ่ายเภสัชกรรมมีการเฝ้าระวังการเกิดความคลาดเคลื่อนทางยาโดยการจัดเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยา (Medication Error) แสดงดังตารางข้างล่างนี้
ปัญหา / อุปสรรคและข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
การเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาเป็นการเก็บข้อมูลในฝ่ายเภสัชกรรมเพียงอย่างเดียว
ขาดการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล และการเก็บข้อมูลความคลาดเคลื่อนทางยาของแผนกผู้ป่วยในยังไม่เป็นระบบ เมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้นยังไม่มีการนำ ข้อผิดพลาดดังกล่าวมาร่วมกันคิดแก้ไขในฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ยังเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเท่านั้น ควรมีการประสานอย่างเป็นระบบกับผู้เกี่ยวข้องในทุกฝ่ายที่มีการสั่งใช้ยาและคัดลอกใบสั่งยา การจ่ายยา และการให้ยา
ฝ่ายเภสัชกรรมได้กำหนดเป้าหมายเพื่อลดความผิดพลาดของการจ่ายยา โดยกำหนดตัวชี้วัด ดังนี้คือ Prescribing error น้อยกว่า 1 % , Pre-dispensing error น้อยกว่า 2 % , Post-dispensing error เท่ากับ 0 %
2.การบริการยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงานวิธีปฏิบัติการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับหน่วยงานต่างๆภายในโรงพยาบาล
• รับใบเบิก ภายในวันอังคารตอนเช้า ของทุกสัปดาห์
• นำส่งให้เภสัชกรตรวจสอบและอนุมัติให้เบิกจ่าย
• เบิกจ่ายของตามใบเบิกโดยการตัดออกจาก stock card
• ตรวจนับความถูกต้องของยาหรือเวชภัณฑ์ที่เบิกออกมาและของที่เหลือให้ตรงกับ
stock card
• นำของส่งให้กับฝ่ายต่างๆภายในวันอังคารตอนบ่าย
• แต่ละฝ่ายตรวจนับของให้ตรงกับใบเบิก
• แต่ละฝ่ายเซ็นรับของ พร้อมรับสำเนาใบเบิกเก็บไว้
วิธีปฏิบัติการเบิกจ่ายยาและเวชภัณฑ์ให้กับสถานีอนามัย • กำหนดให้ส่งใบเบิกภายในวันที่ 10ของทุกเดือน
• นำใบเบิกให้เภสัชกรตรวจสอบและอนุมัติการเบิกจ่าย
• เบิกจ่ายโดยการตัดของออกจาก stock card
• ตรวจนับความถูกต้องของยาหรือเวชภัณฑ์ ที่เบิกออกมาและของที่เหลือให้ตรงกับ
stock card
• สถานีอนามัย มารับของภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน โดยตรวจนับของอีกครั้งให้ตรงกับใบเบิก
• นำใบเบิกให้เภสัชกรตรวจสอบความถูกต้องเซ็นอนุมัติ
• เจ้าหน้าที่ที่มารับของเซ็นรับของ ให้สำเนากับทางอนามัยเก็บไว้ 1 ชุด
หมายเหตุ จากมติที่ประชุมคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ . ศ . 2547 ในการพิจารณาบัญชีเวชภัณฑ์ของสถานีอนามัย อ . บ้านตาขุน สรุปให้สถานีอนามัยมีรายการยาได้ 51 รายการ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา 26 รายการ , ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ และ น้ำยาทดสอบ albumin sugar

3. การจัดการคลังเวชภัณฑ์
การบริหารคลังและเวชภัณฑ์ ประกอบด้วยการกำหนดความต้องการ การวางแผน การคัดเลือกเวชภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน มีประสิทธิภาพไว้บริการผู้ป่วย โดยมีคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัด (PTC) ของโรงพยาบาลเป็นผู้ดำเนินการโดยมีเภสัชกรทำหน้าที่เป็นกรรมการและเลขานุการการบริหารคลังและเวชภัณฑ์ ประกอบด้วยการกำหนดความต้องการ โรงพยาบาลบ้านตาขุน เป็นโรงพยาบาลขนาด 10 เตียง มียาในบัญชียาหลักแห่งชาติจำนวน 196 รายการ ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ 23 รายการ